รับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา

Posted on Posted in จดทะเบียนบริษัท, จดทะเบียนบริษัท50เขตในกรุงเทพ, จดทะเบียนบริษัทภาคกลาง, จดทะเบียนบริษัทภาคตะวันตก, จดทะเบียนบริษัทภาคตะวันออก, จดทะเบียนบริษัทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, จดทะเบียนบริษัทภาคเหนือ, จดทะเบียนบริษัทภาคใต้, รับทำบัญชี, รับปิดงบการเงิน

รับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา

ด้วยสถานการณ์ที่ไม่ปกติในปัจจุบัน ที่ส่งผลการดำเนินชีวิตและธุรกิจในทุกแขนง รวมไปการเปลี่ยนสภาพสังคมอย่างมาก ทำให้การติดต่อหรือประสานงานในปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่เป็นคำตอบที่ตรงโจทย์ที่สุดในขณะนี้ ซึ่งนอกจากจะไม่ต้องพบปะที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง ยังสามารถช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง รวมไปถึงความยุ่งยากในการเตรียมเอกสารต่างๆ ซึ่งตรงจุดนี้เราพร้อมแก้ไขปัญหาให้ท่าน ด้วยทีมงานที่ชำนาญการโดยเฉพาะ

บริษัทฯ ยินดีเสนอบริการทางด้านภาษีอากรทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เพื่อให้เสียภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเป็นการลดภาระของกิจการ ในการจัดเตรียมเอกสาร โดยจัดทำและยื่นแบบเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจต่อกรมสรรพากร รายเดือน และรายปี

สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจเป็นเรื่องของการวางแผนภาษี การจัดทำบัญชี มากกว่า การดูแลให้ธุรกิจอยู่รอดในแต่ละปี ทำอย่างไรถึงจะมีงานตลอด ขายของได้ตลอด มียอดขายดี สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ต้องการมากกว่าแค่การทำบัญชีทั่วๆไป คือ “คำปรึกษา” ซึ่งทางบริษัท ควิกแอคเคาท์ติ้ง จำกัด เป็นมากกว่าสำนักงานบัญชี สิ่งที่เราให้ จะมีมูลค่ามากกว่าค่าบริการที่เราได้รับ เราให้ได้เพราะเราขาย “ประสบการณ์” ประสบการณ์ที่ผู้บริหารหลายท่านต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ แต่เรานำมาถ่ายทอดให้ท่านฟรี เพียงเพราะเราต้องการให้ธุรกิจของท่านเติบโต และดำเนินไปด้วยความราบรื่นด้วยดีตลอดไป
ปรึกษาการยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เราดำเนินงานด้านยื่นภาษี รับจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัท อย่างมีระบบ และคำนึงถึงความถูกต้อง เราสามารถช่วยหาทางออก และ รับจดทะเบียนบริษัท ในการดำเนินธุรกิจของท่านให้ประสบความสำเร็จได้ โทร 083-622-5555

"ลดความเสี่ยง เลี่ยงการเดินทาง สร้างความมั่นใจ ใช้บริการผ่านออนไลน์"

ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง?

ค่าลดหย่อนและยกเว้นเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป สรุปได้ดังนี้

(1) กรณีบุคคลธรรมดา หรือผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
1. ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท
2.คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท
3. ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ ไม่เกิน 120,000 บาท
4. บุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ต้องเข้าเงื่อนไข ดังนี้
- บุตรชอบด้วยกฎหมาย หักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวน
- บุตรบุญธรรม หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน
- กรณีมีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่จำนวนตั้งแต่ 3 คน จะนำบุตรบุญธรรมมาหักอีกไม่ได้
- กรณีมีบุตรชอบด้วยกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 3 คน ให้นำบุตรบุญธรรมมาหักได้รวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน
บุตรที่นำมาหักลดหย่อนต้องไม่มีเงินได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป และเข้าหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
- เป็นผู้เยาว์
- บุตรมีอายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษา
- เป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู
การนับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยนับรวมบัตรที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการลดหย่อนด้วย
5. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ โดยบิดามารดาต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท หักค่าลดหย่อน คนละ 30,000 บาท และสามารถหักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
6. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ หักค่าลดหย่อน คนละ 60,000 บาท
7. ค่าเบี้ยประกันชีวิต (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป) ของผู้มีเงินได้หักค่าลดหย่อนและได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ หากคู่สมรสมีการประกันชีวิต และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อน สำหรับเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่หากสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึง มาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
8. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรสต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เกิน 30,000 บาท
9. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงในปีภาษี แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 490,000 บาท ซึ่งไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างให้หักจากเงินได้
10. เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ได้รับยกเว้นเท่าที่จ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
11. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักค่าลดหย่อนในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่นำมาเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
ทั้งนี้ ต้องเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปถึงอายุ 85 ปีหรือกว่านั้น และเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เงินที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
12. เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
13. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมระยะยาวต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนรวมหุ้นระยะยาว เพราะทุพพลภาพหรือตาย
14. ดอกเบี้ยกู้ยืมที่จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืม หักค่าลดหย่อนตามจำนวนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
15. เงินสมทบประกันสังคม หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง
16. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และเงินฝากที่จ่ายไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
17. เงินบริจาค
- เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น
- เงินบริจาคสาธารณประโยชน์ หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ได้แก่ เงินบริจาคให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น เงินบริจาคในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน เงินบริจาคในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวก เงินบริจาคให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการกีฬา และเงินบริจาคเข้าโครงการฝึกอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดแก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนหรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม เงินบริจาคให้กองทุนพัฒนาสิ่งปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนเสริมงานวัฒนธรรม กองทุนเสริมศิลปะร่วมสมัย กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุหรือกองทุนโบราณคดี และเงินบริจาคให้สถานศึกษาของรัฐ โรงเรียนเอกชน (แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบ)
- เงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หักลดหย่อนได้ 1.5 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน ร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ต้องบริจาค ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2560 และระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม 2560 มติ ครม. เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ขยายระยะเวลาให้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560
- เงินบริจาคทั่วไป หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น

เพิ่มเติม
ลดหย่อนตามมาตรการภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
1. ค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (บ้านหลังแรก) หักลดหย่อนสำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3,000,000 บาท แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ ที่เป็นอาคารพ้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งได้จ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม 2558 - 31 ธันวาคม 2559 ทั้งนี้ ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเป็นเวลา 5 ปีต่อเนื่องกัน นับแต่ปีภาษีที่มีการาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยให้ใช้สิทธิจำนวนเท่า ๆ กันในแต่ละปี
2. ค่าซ่อมแซมบ้านและรถที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย
2.1 ค่าซ่อมแซมบ้าน
ค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ที่จ่าย ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 - 31 พฤษภาคม 2560 และระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560 หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยทรัพย์สินนั้นได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวและอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่เกิดอุทกภัย
2.2 ค่าซ่อมแซมรถ
ค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถที่จ่าย ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 - 31 พฤษภาคม 2560 และระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560 หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท โดยรถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถเสียหายจากการถูกน้ำท่วมเนื่องจากอุทกภัยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวและอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่เกิดอุทกภัย และต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้เช่าซื้อรถ
3. ชอปช่วยชาติ หักลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท จากการซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและขอหลักฐานใบกำกับภาษีเต็มรูป ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2560

ตารางแสดงรายการสินค้าและบริการที่สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษี

(2) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หักค่าลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท
1. เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาและการกีฬา หักได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
2. เงินบริจาค หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

(3) กรณีกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง หักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท
1. เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาและการกีฬา หักได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของ เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
2. เงินบริจาค หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

รับจดทะเบียนบริษัท ราคาพิเศษ 7,900 บาท *** (ราคารวม VAT7%) ไม่มีจ่ายเพิ่ม

หมายเหตุ
*** ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
หากทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท ติดต่อพนักงานเพื่อสอบถามรายละเอียด
*********************
สิ่งที่ลูกค้าได้รับ
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรี ออกแบบตรายางให้เลือก 3 แบบ
ฟรี ตรายางหมึกในตัว 1 อัน
ฟรี ฟรี ไฟล์ตรายาง สำหรับนำไปใช้งาน (ไฟล์ AI)
ฟรี ฟรี เอกสารสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี ฟรี แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชี
ฟรี ฟรี นามบัตรสำหรับออกใบกำกับภาษี
ฟรี ฟรี คอร์สอบรมผู้ประกอบการใหม่ (มูลค่า 5,900 บาท)

 ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์
 หนังสือรับรองบริษัท
 รายละเอียดวัตถุประสงค์บริษัท
 รายงานการประชุมตั้งบริษัท
 หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
 รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
 สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
 ออกแบบเว็บไซต์ องค์กร/หน่วยงาน ราคาพิเศษ 5,000 บาท

*** หมายเหตุ
- เพื่อเป็นมาตราการช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่ ที่จดทะเบียนบริษัทช่วงโควิด-19 ระบาด

*** สิทธิพิเศษมากมาย โปรดติดต่อ Line@ : @quickbusiness เพื่อรับข้อเสนอ หรือสอบถาม โทร : 094-493-1414

 

เอกสารที่ต้องเตรียม

เอกสารที่ใช้ในการจัดตั้ง บริษัทรบกวนถ่ายรูปส่งทางไลน์เพื่อทำแบบจดทะเบียนบริษัท
1.บัตรประชาชน 3ท่าน(ต่างชาติใช้พาสปอร์ต)
2.ทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้ง บริษัท(หน้าแรก)
3.ชื่อ บริษัท ไทย/Eng
4.แบบตรายาง(ถ้าไม่มีทางทีมงานจะออกแบบให้)

ข้อมูลที่ต้องระบุในการจดจัดตั้ง
1.การแบ่งสัดส่วนหุ้นแต่ละท่านเป็น%
2.ให้ใครเป็น กรรมการ(ผู้มีอำนาจลงนาม)
3.ประกอบกิจการเกี่ยวกับอะไรบ้าง
4.แผนที่ตั้ง บริษัท(วาดมือพอสังเขป)
5.เบอร์ อีเมล์และไอดีไลน์ที่ติดต่อได้สะดวก
6.เบอร์ อีเมล์ที่ต้องการให้ลงเป็นข้อมูลของบริษัทในเอกสาร
7.เบอร์ติดต่อและอีเมล์ของผู้ถือหุ้นทุกท่าน